เกร็ดความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับสังฆทาน


 เกร็ดความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับสังฆทาน
            .   หากมีภิกษุรับถวายสังฆทานไม่ถึง รูป เช่น มีเพียงรูปเดียว ก็สามารถถวายสังฆทานได้เช่นกัน แต่ภิกษุผู้รับถวายนั้นจะต้องทำหน้าที่เหมือนตัวแทนสงฆ์รับถวายสังฆทาน
เมื่อรับถวายแล้วจะต้องนำวัตถุทานนั้นไปกล่าวอปโลกน์ในที่ประชุมสงฆ์ในวัดอีกครั้ง ก่อนที่จะนำไปใช้ จึงจะทำให้ทานนั้นสำเร็จสมบูรณ์เป็นสังฆทานได้ ถ้าภิกษุท่านรับถวายแล้ว ไม่ได้นำไปอปโลกน์ในที่ประชุมสงฆ์ ก็จะไม่เป็นสังฆทาน แต่กลายเป็นทานที่ถวายเฉพาะบุคคลไป
             
 ทั้งนี้ขอให้เข้าใจว่าในส่วนของตัวผู้ถวายนั้นได้บุญตั้งแต่ตอนที่ตั้งใจถวายทานเพื่อเป็นสังฆทานแล้ว ไม่ควรไปกังวลว่าพระท่านรับแล้วจะนำไปอปโลกน์หรือไม่ เพราะถ้าท่านไม่อปโลกน์แล้วนำไปใช้ ท่านจะต้องอาบัติ และเป็นบาปเป็นโทษต่อท่านเอง ไม่ใช่ความผิดของผู้ถวาย หากท่านพุทธศาสนิกชนไม่ปรารถนาจะให้ภิกษุท่านยุ่งยาก หรือต้องการจะให้เป็นสังฆทานแท้จริง ก็ควรถวายต่อหน้าภิกษุไม่น้อยกว่า รูป ก็จะเป็นการดียิ่ง ซึ่งนอกจากจะได้รับอานิสงส์แล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาพระธรรมวินัยและพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงด้วย
            2 . แต่ในปัจจุบันผู้นำกล่าวคำถวายทาน ไม่ปรารถนาจะให้จะให้พระท่านยุ่งยากในการอปโลกน์ และป้องกันบาปที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา จากการฉันหรือใช้ของซึ่งเป็นของสงฆ์และยังไม่ผ่านการอปโลกน์ จึงไม่กล่าวคำถวายทานเป็นการถวายสังฆทาน แต่ถวายเป็นการเฉพาะเจาะจงต่อภิกษุ โดยเปลี่ยนคำว่า “สังฆัสสะ” เป็น “สีละวันตัสสะ” และจาก “สังโฆ” เป็น “สีละวันโต”  และเปลี่ยนจากคำแปลจากคำว่า “พระสงฆ์” เป็น “ท่านผู้ทรงศีล” แทน
             3 . ถ้ามีการถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานในเวลาระหว่างเช้าถึงเที่ยง ไม่ว่าจะเป็นที่วัดหรือที่บ้าน เมื่อพระท่านฉันอาหาร แล้วมีอาหารเหลืออยู่ ญาติโยมจะนำไปรับประทานโดยพลการไม่ได้ จะต้องขออนุญาตจากพระสงฆ์ก่อนทุกครั้ง มิฉะนั้นจะเกิดโทษเป็นบาปได้ เพราะอาหารนั้นเป็นของสงฆ์จนถึงเวลาเที่ยง แต่ถ้าเลยเที่ยงแล้ว ถึงสงฆ์จะไม่อนุญาตก็บริโภคได้โดยไม่เป็นบาป เพราะอาหารนั้นหมดอายุ ขาดจากความเป็นของสงฆ์แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การขออนุญาตก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ควรกระทำอยู่เสมอไม่ว่าเวลาใดก็ตาม
              4 . ของที่ได้ถวายสงฆ์แล้ว ภิกษุจะนำไปขายหรือให้แก่ฆราวาสไม่ได้ จะเป็นบาปทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ เพราะของนั้นไม่ใช่ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แต่เป็นสมบัติกลางของวัด แม้ฆราวาสเองก็เช่นกัน จะเอาของที่คนเขาถวายเป็นของกลางแก่สงฆ์ มาเป็นสมบัติของตนไม่ได้ ไม่ว่าซื้อมา ขอมา ขโมยมา หรือพระท่านให้ก็ตาม จะเป็นบาปอย่างมาก ดังที่มีตัวอย่างปรากฏในพระสูตรว่า ภิกษุหรือฆราวาสที่นำของสงฆ์ไปเป็นของตน เมื่อตายไปจะกลายเป็นเปรตได้รับทุกข์ทรมารอยู่เป็นเวลานานวกวาจะสิ้นกรรมนั้น


อ้างอิง :  ณ หทัย.มปป.สร้างเสริมบารมีไหว้พระขอพร 9 วัด.กรุงเทพฯ.ภูมิปัญญา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น