เรื่องควรรู้สำหรับผู้ถวายสังฆทาน


 เรื่องควรรู้สำหรับผู้ถวายสังฆทาน
                                               
           
             ผู้ที่จะถวายสังฆทาน ควรทำใจให้สบายก่อนการถวาย มีความพึงพอใจและเต็มใจที่จะถวาย ส่วนวัตถุทานที่จะถวายเป็นสังฆทานนั้น ควรเป็นของที่จำเป็นและสมควรแก่สมณเพศ เช่นอาหารสด อาหารแห้ง จีวร ยา หนังสือ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น และควรงดเว้นวัตถุไม่สมควรแก้สมณเพศ เช่น อาวุธ ยาพิษ สุรา ยาเสพติด รูปภาพหรือวัตถุ อันเป็นที่ตั้งแห่งกามารมณ์ เป็นต้น วัตถุทานนี้จะซื้อหามาจัดเอง หรือจะซื้อที่เขาจัดสำเร็จแล้ววางขายก็ได้ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่การถวายนั้น จะต้องบอกว่าถวายเป็นสังฆทานให้ชัดเจน เพราะถ้าไม่บอกให้ชัดเจน จะกลายเป็นทานที่ถวายเจาะจงแก่ภิกษุรูปที่เราถวายนั้น ทั้งนี้อาจจะบอกด้วยวาจาแก่ภิกษุที่เราถวายว่า ต้องการถวายของนี้เป็นของกลางแด่สงฆ์ก็ได้หรือ จะกล่าวคำถว่ายสังฆทานอย่างที่นิยมใช้กันมาแต่โบราณก็ได้ โดยในคำถวายนั้น จะต้องมีปรากฏคำว่า “สังฆัสสะ” และ “สังโฆ” อยู่ด้วย เพิอให้ทราบว่าทานที่ถวายนี้เป็นการถวายเป็นสังฆทาน ดังนี้

         อิมานิ มะยัง ภันเต, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, 
         อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ,สุขายะ
             ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับภัตตาหาร พร้อมทั้งริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ
ประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

          เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จแล้ว ผู้ถวายก็นำวัตถุทานของตนเข้าไปถวาย โดยจะยกประเคน หรือเพียงวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์พอให้รู้ว่าได้ถวายก็ได้
            สำหรับสิ่งของที่นำมาถวายเป็นสังฆทานนั้นหากเป็นข้าวของเครื่องใช้หรือยา ก็สามารถถวายได้ลอดเวลา แต่ถ้าหากเป็นของฉันหรือของขบเคี้ยวซึ่งจะผ่านเข้าทางปากนั้น ตามพระวินัยจะมีการจำกัดอายุการครอบครองหรือการเป็นเจ้าของสิ่งนั้นๆ โดย แบ่งเป็น 4ประเภท ดังนี้
ยาวกาลิก คือ อาหารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง นม โอวัลตินไมโล โกโก้ ฯลฯ หากพระภิกษุท่านรับบาตรมาหรือรับประเคนด้วยมือแล้ว จะเก็บไว้ฉันได้เพียงเที่ยงของวันนั้น อารนั้นจะหมดอายุและไม่สามารถนำกลับมาฉนในวันต่อไปได้ หรือหากรับประเคนหลังเที่ยงก็จะหมดอุทันทีที่รับประเคนนั้น ต้องแจกจ่ายให้สามเณรหรือเด็กวัดหรือญาติโยมไปบริโภค
ยามกาลิก คือ น้ำผลไม้ที่ผ่านการกร่องจนไม่มีเนื้อปนอยู่ และไม่ผ่านการตั้งไฟ (มิฉนั้นจะถือว่าเป็นอาหาร) โดยผลไม้ที่นำมาคั้นนั้น จะต้องมีขนาดไม่ใหญ่กว่าผลมะตูม (ประมาณกำปั้นผู้ชาย) เมื่อพระภิกษุรับบาตรมาหรือรับประเคนแลว จะเก็บไว้ฉันได้เพียง 24 ชั่วโมง ก็จะหมดอายุ
สัตตาหกาลิก คือ น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เนยใส เนยข้น (รวมถึงน้ำหวาน น้ำอัดลมดวย แต่ไม่รวมนมข้นหวาน นมกล่อง) เมื่อพระภิกษุรับบาตรมาหรือรับประเคนแล้ว จะเก็บไว้ฉันได้ 7วัน ก็จะหมดอายุ
ยาวชีวิก คือ ยารักษาโรค เมื่อพระภิกษุรับบาตรมาหรือรับประเคนแล้ว สามารถเก็บไว้ฉันได้ตลอดไปจนกว่าจะหมด
        หากพิจารณาตามหลักพระวินัยเช่นนี้ในเวลาที่ญาติโยมตั้งใจไปถวายสังฆทาน ถ้ามีของฉัน ประเภทแรกปนอยู่ ถ้าเรายกประเคนพระภิกษุหมดทั้งถังหรือถาด อาจจะทำให้ของฉันนั้นหมดอายุก่อนที่ภิกษุท่านกต้องการให้ท่านเก็บไว้ฉันได้นานๆ จนกว่าจะหมด ก็ควรแยกออกจากถังหรือถาด วางไว้โดยไม่ต้องยกประเคน แล้วเอาส่วนที่เหลือที่เป็นของใช้ยกประเคนท่าน พวกอาหารที่เราแยกออกวางไว้นั้น พระท่าจะให้สามเณรหรือโยมประเคนให้ภายหลัง เมื่อท่านต้องการจะฉัน การทำอย่างนี้จะทำให้วัตถุทานที่ถวายเป็นประโยชน์กับพระท่านได้อย่างเต็มที่ และยังถูกต้องตามพระวินัยด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น