การถวายสังฆทานที่ถูกต้อง


การถวายสังฆทานที่ถูกต้อง

 
            การถวายสังฆทานที่ญาติโยมคุ้นเคยและปฏิบัติกันเป็นนิชคือ การซื้อถังพลาสติกสีเหลืองหรือภาชนะอื่นบรรจุข้าวสารอาหารแห้ง หรืออาหารกระป๋อง และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่วางขายอยู่ทั่วไป จากนั้นนำไปถวายพระ โดยการกล่าวถวายสังฆทาน (อิมานิ มะยัง ภัยเต...) จากนั้นก็กรวดน้ำและรับพรจากพระเป็นอันเสร็จพิธีการถวายสังฆทาน
             การกระทำเช่นนี้อาจะสำเร็จเป็น “สังฆทาน” ที่สมบูรณ์หรือไม่ก็ได้ เนื่องจากคำว่า “สังฆทาน” นั้นไมได้หมายถึง วัตถุที่นำไปถวายหรือ “ วัตถุทาน” เช่น ถังพลาสติกหรือภาชนะอื่นๆ  สี่เหลืองที่บรรจุข้าวของ แต่หมายถึง การให้วัตถุทานแก่สงฆ์ คำว่า “ภิกษุ” ตามพระธรรมวินัยหมายถึง “ภิกษุสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง” คำว่า “สงฆ์”หมายถึง “ภิกษุตั้งแต่ 4รูป ขึ้นไป” คำว่า “ทาน” หมายถึง “การให้” โดยหมายถึง การตั้งใจให้ ซึ่งการให้ทานนั้นมีหลายประเภท ซึ่งหนึ่งในจำนวนหลายประเภทนั้น ได้แก่ สังฆทาน
               องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าทรงกล่าว่าการถวายสังฆทาน เป็นทานที่มีอนิสงสูงที่สุด สูงกว่าแม้การถวายทานแด่พระพุทธเจ้าเสียอีก เนื่องจากการถวายสังฆทาน เป็นการให้ทานแก่สงฆ์ คือถวายเป็นของกลางแก่วัด หรือเป็นของส่วนรวม ไม่ได้เจาะจงผู้รับ และไม่เป็นิ์กรรมสิทธิ์ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยคณะสงฆ์ในวัดจะประชุมพิจารณาเพื่อตกลงกันว่าจะนำวัตถุทานที่ได้รับถวายมาไปใช้ในกิจการใด หรือจะมอบให้แก่ภิกษุรูปใด ดังนั้นการถวายสังฆทานจึงเป็นการบำรุงรักษาวัดและภิกษุสงฆ์ให้มั่นคงสืบพระศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
            พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าการถวายสังฆทานได้บุญมาก และนิยมทำกัน แต่มักจะขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง การถวายสังฆทานของคนส่วนใหญ่นั้น มักไม่สำเร็จเป็นสังฆทาน แต่กลายเป็นปาฏิปุคคลิกทาน คือ เป็นทานที่ถวายเจาะจงแก่ภิกษุที่รับถวายเท่านั้น
            การถวายทานให้สำเร็จเป็น “สังฆทาน” นั้น ผู้ถวายจะต้องระบุว่าถวายเป็นสังฆทาน ภิกษุผู้รับถวายวายจะต้องไม่น้อยกว่า 4 รูป และเมื่อรับถวายแล้ว ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องทำการอปโลกน์ก่อน คือ ประกาศว่าเป็นของกลาง ภิกษุรูปใดต้องการจะใช้ก็สามารถนำไปใช้ได้ จากนั้นจึงจะแจกจ่ายวัตถุทานที่ได้รับถวายมาให้แก่ภิกษุสามเณรที่ต้องการได้ ถ้าครบกระบวนการทั้ง ขั้นตอนนี้ จึงจะเป็น “สังฆทาน”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น